การปลอมอาหาร (Food Fraud)
การปลอมอาหาร (Food Fraud) การปลอมอาหาร คืออะไร? การปลอมอาหาร (Food Fraud) หมายถึง การเจตนาจงใจ ทดแทน เติม ปะปนสิ่งแปลกปลอมลงในอาหาร/วัตถุดิบ รวมถึงการบิดเบือนข้อมูลบนบรรจุภัณฑ์หรือฉลากของผลิตภัณฑ์เพื่อผลประโยชน์ทางการค้า ซึ่งส่งผลกระทบต่อสุขภาพของผู้บริโภค (GFSI BRv7:2017)

การปลอมอาหาร (Food Fraud)

 

การปลอมอาหาร คืออะไร?

การปลอมอาหาร (Food Fraud) หมายถึง การเจตนาจงใจ ทดแทน เติม ปะปนสิ่งแปลกปลอมลงในอาหาร/วัตถุดิบ รวมถึงการบิดเบือนข้อมูลบนบรรจุภัณฑ์หรือฉลากของผลิตภัณฑ์เพื่อผลประโยชน์ทางการค้า ซึ่งส่งผลกระทบต่อสุขภาพของผู้บริโภค (GFSI BRv7:2017)

 

ประเภทของอาหารปลอมตามการจำแนกของ GFSI

  • การเจือจาง (Dilution) คือ การผสมของเหลวที่มีมูลค่าต่ำกว่าลงในของเหลวที่มีมูลค่าสูงกว่า

เช่น เติมน้ำที่ไม่สะอาดหรือไม่ได้ตามคุณภาพน้ำดื่มลงในผลิตภัณฑ์

น้ำมันมะกอกที่ถูกเจือจางโดยน้ำมันชาที่อาจจะเป็นพิษ

 

  • การทดแทน (Substitution) คือ การทดแทนวัตถุดิบ/บางส่วนของผลิตภัณฑ์โดยวัตถุดิบชนิดอื่นที่มีมูลค่าต่ำกว่า เช่น น้ำมันดอกทานตะวันที่ถูกทดแทนโดยน้ำมันชาบางส่วน

การทดแทนโปรตีนในน้ำนมโดยโปรตีนสกัดจากหนังสัตว์ (Hydrolyzed leather protein)

 

  • การปกปิด (Concealment) คือ การซ่อนหรือปกปิดอาหารหรือวัตถุดิบที่ด้อยคุณภาพ

เช่น เนื้อสัตว์ปีกที่ถูกฉีดด้วยฮอร์โมนเพื่อปกปิดโรค

การใช้สีที่เป็นอันตรายเพื่อปกปิดข้อพกพร่องในผลไม้สด

 

  • การปรังปรุงที่ไม่ได้รับอนุญาต (Unapproved enhancements) คือ การเติมส่วนประกอบที่ไม่เปิดเผยลงในผลิตภัณฑ์อาหารเพื่อปรับปรุงคุณลักษณะบางประการ

เช่น การเติมเมลามีนเพื่อให้ตรวจพบปริมาณโปรตีนมากกว่าความเป็นจริง

การใช้สารเติมแต่งโดยไม่ได้รับอนุญาต (ใช้สีซูดานในเครื่องเทศ)

 

  • การบิดเบือนฉลาก (Mislabelling) คือ การกล่าวอ้างข้อมูลที่เป็นเท็จบนบรรจุภัณฑ์

เช่น วันหมดอายุ แหล่งที่มาที่ไม่ปลอดภัย

โปยกั๊กที่เป็นพิษจากญี่ปุ่นแต่ระบุบนฉลากว่าเป็นโปยกั๊กจากจีน

ไม่ระบุบนฉลากว่าเป็นน้ำมันที่ถูกใช้ซ้ำ

 

  • การผลิตในตลาดสีเทา/การโจรกรรม (Gray market production/theft/diversion)

เช่น การขายสินค้าส่วนเกินจากที่รายงาน

ผลิตภัณฑ์สำหรับตลาดอเมริกาไปปรากฏที่ประเทศเกาหลี

 

  • การปลอม (Counterfeiting) คือ การเลียบแบบยี่ห้อ แนวคิดผลิตภัณฑ์ สูตรการผลิต กระบวนการผลิต เป็นต้น

เช่น ผลิตสินค้าเลียบแบบโดยไม่มีระบบการประกันคุณภาพที่ยอมรับได้

ปลอมผลิตภัณฑ์ช็อคโกแลตแท่ง

 

โดยอาหารที่พบว่ามีการปลอม 10 อันดับแรก ได้แก่ น้ำมันมะกอก ปลา ผลิตภัณฑ์อินทรีย์ นม ธัญพืช น้ำผึ้ง/น้ำเชื่อมเมเปิล ชากาแฟ เครื่องเทศ ไวน์ น้ำผลไม้ (EU2013/2091) นอกจากนี้ยังมีอาหารปลอมอื่นๆ ที่เป็นข่าวตามสื่อโซเชียลมีเดีย เช่น ไข่ เนื้อหมู เนื้อไก่ หน่อไม้ ซอส เหล้า สาหร่าย น้ำอัดลม รังนก เป็นต้น จะเห็นได้ว่าการปลอมอาหารเกิดขึ้นกับหลากหลายผลิตภัณฑ์ อีกทั้งยังยากต่อการตรวจพบด้วยตาเปล่าโดยตัวผู้บริโภคเอง และทั้งหมดมีแรงจูงใจเดียวกันคือต้องการขายสินค้าให้ได้ราคาสูงกว่าราคาท้องตลาด (Economic gain motivation)

 

อย่างไรก็ตามการปลอมอาหาร (Food Fraud) แตกต่างกับการปกป้องอาหารจากการประสงค์ร้าย (Food Defense) ถึงแม้ว่าจะเป็นการปนเปื้อนที่ทำให้อาหารไม่ปลอดภัยเหมือนกัน แต่แรงจูงใจในการกระทำแตกต่างกันอย่างสิ้นเชิง ดังนั้นภายใต้ระบบการบริหารจัดการความปลอดภัยอาหาร (Food Safety Management System: FSMS) จึงต้องมีมาตรการการควบคุมที่แตกต่างกันออกไปอย่างเหมาะสมเพื่อพร้อมรับมือกับสถานการณ์ที่ยากต่อการคาดเดาในปัจจุบัน อธิบายโดยสรุปดังนี้

 

การปลอมอาหาร (Food Fraud)

  • ป้องกันการปนเปื้อนโดยเจตนา (Intentional adulteration)

ที่มีแรงจูงใจจากผลประโยชน์ทางการค้า ให้ขายสินค้าได้ราคาสูงกว่าความเป็นจริง

  • มาตรการควบคุม: Vulnerability Assessment and Critical Control Point (VACCP)

 

การปกป้องอาหารจากการประสงค์ร้าย (Food Defense)

  • ป้องกันการปนเปื้อนโดยเจตนา (Intentional adulteration)

ที่มีแรงจูงใจจาก ความเชื่อ/พฤติกรรมส่วนบุคคล โกรธ กลั่นแกล้ง ก่อการร้าย เป็นต้น

  • มาตรการควบคุม: Threats Assessment and Critical Control Point (TACCP)

 

ความปลอดภัยของอาหาร (Food Safety)

  • ป้องกันการปนเปื้อนโดยไม่เจตนาหรืออุบัติเหตุ (Unintentional/accidental adulteration)

โดยพิจารณาตามหลักทางวิทยาศาตร์และการเจ็บป่วยเนื่องจากอาหาร

  • มาตรการควบคุม: Hazard Analysis and Critical Control Point (HACCP)

 

------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------

เอกสารอ้างอิง: Food Safety System Certification 22000 Guidance Document: Food Fraud Mitigation