“Food Defence” และ “Food Fraud” เกี่ยวข้องอย่างไรกับมาตรฐาน Packing and Packaging Materials Issue 5
“Food Defence” และ “Food Fraud” เกี่ยวข้องอย่างไรกับมาตรฐาน Packing and Packaging Materials Issue 5 ……….. บทความอ้างอิงจากเอกสาร “BRC Global Standard for Packaging and Packaging Materials P552: Position Statement-Clarification on “food defence” and “food fraud” in the Packaging Standard” ……….. การปกป้องอาหารจากการประสงค์ร้าย (Food Defence) และการปลอมอาหาร (Food Fraud) ถูกกล่าวถึงโดย GFSI* ในการเทียบเคียง (Benchmarking) มาตรฐานระหว่าง Global Standard Food Safety Issue 7 และ Packing and Packaging Materials Issue 5 เนื่องจากบรรจุภัณฑ์ซึ่งทำหน้าที่ปกป้องรักษาคุณภาพของผลิตภัณฑ์และเป็นตัวกลางในการสื่อสารข้อมูลที่สำคัญของผลิตภัณฑ์ไปยังผู้บริโภค มีบทบาทสำคัญกับความโปร่งใสของผลิตภัณฑ์ (Product Integrity) ตลอดทั้งห่วงโซ่อุปทาน จึงได้มีการอธิบายเพิ่มเติมเกี่ยวกับความแตกต่างและการเชื่อมโยงในมิติของบรรจุภัณฑ์กับ “Food Defence” และ “Food Fraud” เพื่อให้เกิดความชัดเจนเมื่อมองในมุมของผู้ผลิตบรรจุภัณฑ์ (Packaging Manufacturer)

“Food Defence” และ “Food Fraud”

เกี่ยวข้องอย่างไรกับมาตรฐาน Packing and Packaging Materials Issue 5

 

………..

บทความอ้างอิงจากเอกสาร “BRC Global Standard for Packaging and Packaging Materials

P552: Position Statement-Clarification on “food defence” and “food fraud” in the Packaging Standard”

 

………..

 

ารปกป้องอาหารจากการประสงค์ร้าย (Food Defence) และการปลอมอาหาร (Food Fraud) ถูกกล่าวถึงโดย GFSI* ในการเทียบเคียง (Benchmarking) มาตรฐานระหว่าง Global Standard Food Safety Issue 7 และ Packing and Packaging Materials Issue 5 เนื่องจากบรรจุภัณฑ์ซึ่งทำหน้าที่ปกป้องรักษาคุณภาพของผลิตภัณฑ์และเป็นตัวกลางในการสื่อสารข้อมูลที่สำคัญของผลิตภัณฑ์ไปยังผู้บริโภค มีบทบาทสำคัญกับความโปร่งใสของผลิตภัณฑ์ (Product Integrity) ตลอดทั้งห่วงโซ่อุปทาน

 

จึงได้มีการอธิบายเพิ่มเติมเกี่ยวกับความแตกต่างและการเชื่อมโยงในมิติของบรรจุภัณฑ์กับ “Food Defence” และ “Food Fraud” เพื่อให้เกิดความชัดเจนเมื่อมองในมุมของผู้ผลิตบรรจุภัณฑ์ (Packaging Manufacturer)

 

  •  

 

การปกป้องอาหารจากการประสงค์ร้าย (Food Defence)

 

สำหรับอุตสาหกรรมบรรจุภัณฑ์ในการการวิเคราะห์ความเสี่ยงและอันตราย ตามข้อกำหนด 2.2 การวิเคราะห์อันตรายและความเสี่ยง (Hazard and Risk Analysis) นอกจากจะพิจารณาที่กระบวนการผลิตแล้ว ควรมองคลอบคลุมไปถึงผู้ส่งมอบ ซึ่งอันตรายที่มีความน่าจะเป็นที่ควรคำนึงถึงคือ

  • การปนเปื้อนของบรรจุภัณฑ์ระหว่างการผลิตหรือบรรจุภัณฑ์สำเร็จรูปจากการประสงค์ร้าย (Malicious Intervention) เช่น การแอบซ่อนของปนเปื้อนที่โรงงานผลิต
  • การปนเปื้อนของวัตถุดิบจากการประสงค์ร้าย เช่น การปนเปื้อนในวัตถุดิบก่อนที่จะขนส่งเข้าโรงงานผลิต

 

ข้อกำหนดที่มีความเกี่ยวข้องคือ

  • 2.2 การวิเคราะห์อันตรายและความเสี่ยง (Hazard and risk analysis)
  • 3.1 ระบบการจัดการคุณภาพและความปลอดภัยของผลิตภัณฑ์ (Product safety and quality management system)
  • 4.4 มาตรการการรักษาความมั่นคง (Security)
  • 6.1 การฝึกอบรมและความสามารถ (Training and Competence)

 

…..

 

 

การปลอมอาหาร (Food Fraud)

 

สำหรับบรรจุภัณฑ์ แหล่งที่มีความน่าจะเป็นของการปลอมคือ

  • วัตถุดิบปลอม เช่น ปะปนกระดาษหรือเส้นใย nonFSC มากับกระดาษหรือเส้นใย FSC**
  • ใช้วัสดุทดแทน (Substitute) หรือลดคุณภาพ (Downgrading) เช่น นำกระดาษรีไซเคิล (recycled) มาขายเป็นกระดาษใหม่ (virgin)
  • บรรจุภัณฑ์ที่ถูกแอบอ้าง เช่น แอบอ้างว่ามาจากเจ้าของแบร์นโดยตรง

 

จะเห็นได้ว่าการปลอมที่ส่งผลกระทบต่อเจ้าของผลิตภัณฑ์ (Brand Owner) สามารถบรรเทา (Mitigate) ได้โดยการบริหารจัดการตั้งแต่ผู้ผลิตบรรจุภัณฑ์ คือ

  • บรรจุภัณฑ์ของแท้ที่ผลิตเกินมาถูกลักลอบนำไปบรรจุผลิตภัณฑ์ปลอม
  • บรรจุภัณฑ์ปลอมที่พิมพ์โดยใช้อาร์ทเวิร์กแท้ นำไปบรรจุผลิตภัณฑ์ปลอม

 

ข้อกำหนดที่มีความเกี่ยวข้องคือ

  • 4.10 ขยะและการจัดการของเสีย (Waste and waste disposal)
  • 5.2 การออกแบบกราฟฟิคและการควบคุมแม่พิมพ์ (Graphic design and artwork control)
  • 5.3 การควบคุมการพิมพ์บนบรรจุภัณฑ์ (Packaging print control)
  • 5.7 การควบคุมผลิตภัณฑ์ที่ไม่เป็นไปตามข้อกำหนด (Control of nonconforming product)

 

จากเรื่องจริงในแวดวงอุตสาหกรรมอาหารและบรรจุภัณฑ์ กรณีของการประสงค์ร้ายนั้น เคยพบใบมีดคัตเตอร์แปะติดมาในม้วนลามิเนตฟิล์ม ในส่วนของการปลอมก็เช่นกัน เคยพบผลิตภัณฑ์ปลอมบรรจุในลามิเนตฟิล์มของแท้ แต่ลักษณะการปิดผนึกและการพิมพ์รุ่นผลิตที่ต่างกัน ทำให้รู้ได้ไม่ยากว่าปลอม (แต่ที่ยากกว่าคือเอาลามิเนตฟิล์มของแท้มาจากไหน?) นอกจากนั้นยังเคยพบกล่องปลอมที่พิมพ์เหมือนจนแยกไม่ออก แต่คุณภาพของกระดาษที่บางกว่า และการปั้มทอง (Hot stamp) ที่ไม่คมชัด ทำให้แยกแยะได้ว่าเป็นของปลอม จะเห็นได้ว่าเรื่องที่คาดไม่ถึงเกิดขึ้นได้เสมอและผลกระทบที่ตามมาก็รุนแรงแบบคาดไม่ถึงเช่นกัน อย่างที่เราเห็นตามสื่อโซเชียลมีเดียเรื่องการปลอมเครื่องดื่มพร้อมชงเมื่อหลายปีก่อน

 

สำหรับ BRCG Packaging Materials Issue6 ที่ประกาศออกมาเมื่อสิงหาคม 2562 และจะเริ่มใช้เดือนกุมภาพันธ์ 2563 นั้น มีข้อกำหนดใหม่ที่กล่าวถึงเรื่องการปลอมโดยตรงคือข้อกำหนดที่ 3.8 Product authenticity, claim and chin custody ในส่วนของการปกป้องผลิตภัณฑ์จากการประสงค์ร้าย (Product Defence) ก็ได้ถูกเพิ่มเติมไว้ที่ข้อกำหนด 4.4 Site Standard and Product Defense เช่นกัน แต่ไม่ว่าจะเป็นมาตรฐาน Issue เก่าหรือใหม่ ก็ยังคงมีนัยสำคัญการเชื่อมโยงของบรรจุภัณฑ์กับ “Food/Product Fraud” and “Food/Product defence” ไม่ต่างกัน

 

…..

 

* GFSI: Global Food Safety Initiative

** FSC: The Forest Stewardship Council

 

------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------

แหล่งข้อมูลอ้างอิง: BRC Global Standard for Packaging and Packaging Materials

P552: Position Statement-Clarification on “food defence” and “food fraud” in the Packaging Standard