Allergen ตอนที่ 2
“สารก่อภูมิแพ้ ตอนที่ 1️⃣” เราได้ทบทวนความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับสารก่อภูมิแพ้ และ Big8 รวมถึง สารก่อภูมิแพ้ตามประกาศของ EU 14 รายการ กันแล้ว…

สารก่อภูมิแพ้ ตอนที่ 1️⃣” เราได้ทบทวนความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับสารก่อภูมิแพ้ และ Big8 รวมถึง สารก่อภูมิแพ้ตามประกาศของ EU 14 รายการ กันแล้ว…

ตอนที่ 2️⃣ นี้ แอดมินขอนำเสนอ “กฎเกณฑ์การแสดงฉลากสารก่อภูมิแพ้ของ EU (Regulation No.1169/2011, April,2015)”

โดยเรียบเรียงมาเฉพาะสาระสำคัญสำหรับผลิตภัณฑ์กลุ่มอาหารบรรจุเสร็จ (Prepacked Food)

ซึ่งต้องแสดงฉลากผลิตภัณฑ์ที่มีส่วนผสมของสารก่อภูมิแพ้ทั้ง 14 รายการ ดังนี้

1) Cereal containing gluten:

ต้องแสดงฉลากโดยระบุในรายการส่วนผสมระบุชนิดอย่างจำเพาะเจาะจง เช่น wheat (spelt or Khorasan), rye, barley หรือ oat เป็นต้น หรือหากระบุชื่อเฉพาะต้องอ้างอิงถึง wheat ด้วย เช่น ‘spelt (wheat)’, ‘Khorasan (wheat)’, ‘Kamut (wheat)’

ส่วนผสมที่ผลิตมาจาก cereal containing gluten ต้องระบุให้ชัดเจนในรายการส่วนผสมด้วย เช่น ‘Codex wheat starch’, ‘barley malt extract’

2) Crustaceans and product thereof:

ตัวอย่างการแสดงฉลาก เช่น ‘prawns (crustaceans)’ ‘crayfish (crustaceans)’ ‘lobster (crustaceans)’ ‘shrimp paste (crustaceans)’

3) Eggs and product thereof:

ต้องแสดงบนฉลากหากมีการใช้เป็นส่วนผสมหรือ processing aid แต่ไม่จำเป็นต้องระบุชนิดของไข่ ว่าเป็น ไข่ไก่ ไข่เป็ด ไข่นกกระทา

4) Fish and product thereof:

สามารถแสดงฉลากโดยไม่ระบุชนิดของปลาได้ เช่น ‘fish stock’
หากระบุ specie ต้องอ้างอิงถึงคำว่า ‘fish’ ด้วย เช่น ‘cod (fish)’ ‘salmon (fish)’ ‘tilapia (fish) เป็นต้น

5) Peanuts and product thereof:

Peanut อาจจะใช้สำหรับ ground/powered nuts เช่น อัลมอนด์หรือถั่วรวม จึงให้ใช้คำว่า Peatnut ตามประกาศของ EU เท่านั้น

สำหรับ refined และ unrefined peanut oil ต้องระบุบนฉลากด้วยว่าผลิตจาก Peanut

6) Soybeans and product thereof:

ใช้ได้ทั้งคำว่า ‘soya’ หรือ ‘soy’
สำหรับผลิตภัณฑ์จำเป็นต้องระบุให้ชัดเจน เช่น ‘tofu (soya)’ ‘edamame (soya)’

7) Milk and product thereof:

ไม่จำเป็นต้องระบุชนิดของสัตว์ที่ให้น้ำนม เนื่องจาก milk หมายความถึงนมที่ได้จากสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมซึ่งมีลักษณะโครงสร้างของโปรตีนเหมือนกัน ไม่ว่า จะเป็น นมวัว นมแพะ นมแกะ นมควาย
ผลิตภัณฑ์จากนม เช่น ชีส เนย นมหมัก ครีม ซึ่งไม่มีส่วนผสมอื่นๆ นอกเหนือจาก เกลือ กรดแลกติกและเอ็นไซม์ และแสดงชื่อทางการค้าว่าเป็น ‘cheese’ ‘butter’ ‘cream’ ‘yoghurt’ ไม่จำเป็นต้องแสดงฉลากอ้างอิง ‘Milk’
อย่างไรก็ตาม หากเป็นผลิตภัณฑ์ที่ผู้บริโภคไม่คุ้นเคยต่อชื่อ เช่น lactose, casein, whey จะต้องระบุให้ชัดเจน เช่น ‘whey (milk)’