Allergen ตอนที่ 3
ได้ทบทวนความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับสารก่อภูมิแพ้ Big8 รวมถึง สารก่อภูมิแพ้และกฎเกณฑ์การแสดงของ EU 14 รายการ กันไปแล้วจากตอนที่ 1 และ 2

ได้ทบทวนความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับสารก่อภูมิแพ้ Big8 รวมถึง สารก่อภูมิแพ้และกฎเกณฑ์การแสดงของ EU 14 รายการ กันไปแล้วจากตอนที่ 1 และ 2

ตอนที่ 3 ซึ่งเป็นตอนสุดท้ายสำหรับสารก่อภูมิแพ้ แอดมินขอนำเสนอ "สารก่อภูมิแพ้ตามประกาศของประเทศญี่ปุ่นและสหรัฐอเมริกา" ซึ่งเป็นกลุ่มประเทศคู่ค้าที่สำคัญของไทยเช่นกัน

 ญี่ปุ่น ระบุสารก่อภูมิแพ้ทั้งหมด 27 รายการ โดยหน่วยงานคุ้มครองผู้บริโภคของญี่ปุ่น (Consumer Affairs Agency: CAA) แบ่งสารก่อภูมิแพ้ออกเป็น 2 กลุ่ม

กลุ่มที่ 1: บังคับให้ติดฉลาก (mandatory)

มี 7 รายการ ได้แก่ 1) ไข่ 2) นม 3) ข้าวสาลี 4) กุ้ง 5) ปู 6) ข้าวบัควีท 7) ถั่วลิสง

กลุ่มที่ 2: แนะนำให้ติดฉลาก (recommended)

มี 20 รายการ ได้แก่ 1) หอยเป๋าฮื้อ 2) ปลาหมึก 3) ปลาไข่ 4) ส้ม 5) กีวี 6) เนื้อวัว 7) วอลนัท  ปลาแซลมอน 9) ปลาแมกเคอเรล 10) เจลาติน 11) เนื้อไก่ 12) กล้วย 13) เนื้อหมู 14)เห็ดโคนญี่ปุ่น 15) ลูกพีช 16) มันภูเขา 17) แอปเปิ้ล 18) ถั่วเหลือง 19) งา 20) มะม่วงหิมพานต์

โดย 2 รายการท้ายคือ งา และมะม่วงหิมพานต์ ได้ถูกเพิ่มเข้าไปเมื่อวันที่ 20 กันยายน 2556 ที่ผ่านมา

สหรัฐอเมริกา ระบุสารก่อภูมิแพ้มีทั้งหมด 8 รายการ

ได้แก่ 1) ข้าวสาลี 2) สัตว์น้ำเปลือกแข็ง 3) ไข่ 4) ปลา 5) ถั่วลิสง 6) นม 7) ทรีนัท 8)ถั่วเหลือง

จากการสำรวจตลาดของ USFDA พบว่า อาหารพร้อมบริโภค เช่น ของอบ ไอศกรีม และขนมลูกกวาดบางชนิดแสดงฉลากส่วนประกอบของวัตถุดิบที่มีสารก่อภูมิแพ้ไม่ครบถ้วน เช่น ไม่ระบุถั่วลิสงหรือไข่ ทำให้ผู้บริโภคที่เป็นโรคภูมิแพ้อาหาร ได้รับข้อมูลบนฉลากไม่ครบถ้วนจึงไม่สามารถตัดสินใจเลือกสินค้าได้อย่างถูกต้อง

ข้อกำหนดกฎเกณฑ์สำหรับการแสดงฉลากสารก่อภูมิแพ้ของสหรัฐอเมริกา โดยสรุป

1. กรณี processed food (มองไม่เห็นสภาพของวัตถุดิบแล้ว)

ยังคงต้องแสดงรายการวัตถุดิบ แต่ให้เพิ่มข้อความไว้บนบรรจุภัณฑ์ ว่า “This product contains milk, egg, fish, crustacean, shellfish, tree nut , peanut, wheat หรือ soybean (ระบุเฉพาะชนิดที่เป็นส่วนประกอบและไม่ต้องบอกชื่อ common name) เช่น

• This product contains fish.

• This product contains fish, wheat and soybeans.

2. กรณีที่อาหารไม่ได้ผลิตจาก allergen แต่ใช้เครื่องปรุงแต่งรส สี หรือกลิ่น ที่มีส่วนประกอบชนิดใดชนิดหนึ่ง หรือหลายชนิดของสารก่อภูมิแพ้ ก็เข้าข่ายต้องแสดงฉลาก เช่น

• This product contains wheat

• This product contains soybeans.

3. กรณีที่โรงงานมีอุปกรณ์ในการผลิตอาหารชุดเดียว และได้ทำการผลิตอาหารที่มีวัตถุดิบสารก่อภูมิแพ้ แม้จะได้ล้างทำความสะอาดแล้วก็ตาม เมื่อนำมาผลิตอาหารที่ไม่ได้มีส่วนประกอบวัตถุดิบสารก่อภูมิแพ้ แนะนำว่าควรแสดงฉลาก "this product was processed on machinery that was used to process products containing (allergen) " หรือ" may contain (allergen) " เช่น

• This product was processed on machinery that was used to process products containing fish.

• This product may contain fish

4. กรณี processed food หรือ non-processed food ที่ยังคงมองเห็นชนิดของวัตถุดิบ (วัตถุดิบที่ยังคงสภาพให้เห็นได้อยู่) เช่น กุ้งสดแช่แข็ง กุ้งต้มแช่แข็ง ปลาเค็ม ปลารมควัน ปลาทอด ปลากรอบ ถั่วทอด ให้เพิ่มข้อความไว้บนบรรจุภัณฑ์ ว่า This product contains, fish, crustacean shellfish, tree or nuts (ระบุเฉพาะชนิดที่เป็นส่วนประกอบ และจะต้องบอกชื่อ common name หรือชื่อชนิดของปลา กุ้ง หอย ถั่ว ) เช่น

• This product contains fish, Nile Tilapia.

• This product contains shrimp, black tiger prawn.

• This product contains shrimp, Pacific white shrimp.

• This product contains nut, peanut.

• This product contains nuts (peanut) and shrimp (black tiger shrimp)

     จะเห็นได้ว่าหน่วยงานที่รับผิดชอบได้ออกข้อกำหนดกฎเกณฑ์มากมายเพื่อให้ผู้บริโภคได้รับข้อมูลของผลิตภัณฑ์อย่างถูกต้องครบถ้วนเพื่อปกป้องสุขภาพของผู้บริโภค ส่วนผู้ประกอบการอาหารก็ต้องปฏิบัติตามกฎระเบียบอย่างจริงจัง

ในส่วนของผู้บริโภคเองก็ควรรู้เกี่ยวกับฉลากบนบรรจุภัณฑ์อาหารเพื่อที่จะได้หลีกเลี่ยงผลิตภัณฑ์ที่ตัวเองแพ้ได้อย่างถูกต้องและปลอดภัยต่อสุขภาพ