กำหนดคุณภาพหรือมาตรฐานของภาชนะบรรจุที่ทำจากพลาสติก (ลงวันที่ 1 มิถุนายน 2565)
ประกาศฯ ฉบับที่ 435 เรื่อง “กำหนดคุณภาพหรือมาตรฐานของภาชนะบรรจุที่ทำจากพลาสติก” ที่ออกมาแทนประกาศฯ ฉบับที่ 295 ซึ่งมีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 18 มิถุนายน 2565 ที่ผ่านมา มีอะไรเพิ่มเติมและเปลี่ยนแปลงไปบ้าง?

ประกาศฯ ฉบับที่ 435 เรื่อง “กำหนดคุณภาพหรือมาตรฐานของภาชนะบรรจุที่ทำจากพลาสติก” ที่ออกมาแทนประกาศฯ ฉบับที่ 295 ซึ่งมีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 18 มิถุนายน 2565 ที่ผ่านมา มีอะไรเพิ่มเติมและเปลี่ยนแปลงไปบ้าง?

 

แอดมินสรุปประเด็นสำคัญมาให้อ่านกันแล้วค่ะ

 

  1. อย่างแรกเลยคือ ยกเลิกประกาศฯ ฉบับที่ 295 (พ.ศ.2548) และให้มาใช้ ฉบับที่ 435 แทน
  2. ปรับปรุงและกำหนดนิยาม ของ “ภาชนะบรรจุ” “ภาชนะบรรจุที่ทำจากพลาสติก” และ “ภาชนะบรรจุที่ทำจากพลาสติกแปรใช้ใหม่ (recycled plastic)” ให้ชัดเจนและคลอบคลุมลักษณะการใช้งานในปัจจุบัน

โดยพลาสติกแปรใช้ใหม่มี 3 แบบ คือ แบบปฐมภูมิ (primary recycling: pre-consumer scrap) แบบทุติยภูมิ (secondary recycling: Physical reprocessing: mechanical recycling) และ แบบตติยภูมิ (tertiary recycling: chemical reprocessing)

  1. กำหนดรูปแบบภาชนะบรรจุที่ทำจากพลาสติกที่คลอบคลุมในประกาศ มีทั้งหมด 6 ชนิด ได้แก่
    1. พลาสติกชั้นเดียวทั้งชิ้น
    2. พลาสติกแบบหลายชั้นอัดหรือประกบติดกัน (plastic multi-layers)
    3. วัสดุหลายชนิด หลายชั้นอัดหรือประกบติดกัน โดยมีพลาสติกเป็นชั้นประกอบ (plastic layers in multimaterial multi-layer) 
    4. วัสดุอื่นแล้วเคลือบด้วยพลาสติก (coating)
    5. มีพลาสติกเป็นส่วนหนึ่งสัมผัสอาหาร เช่น กล่องกระดาษที่มีแผ่นพลาสติกเป็นหน้าต่าง (window box)
    6. วัสดุเชิงประกอบ (composite) ที่มีพลาสติกเป็นส่วนผสม เช่น เยื่อกระดาษผสมพลาสติก
  2. ปรับปรุง ข้อกำหนดคุณภาพหรือมาตรฐานทั่วไป เช่น
  • ยกเลิกข้อห้ามใช้ภาชนะบรรจุที่มีสี
  • เพิ่มเงื่อนไข สีบนภาชนะต้องเป็นสีชั้นคุณภาพสัมผัสอาหาร (food contact grade) สีและหมึกพิมพ์บนภาชนะต้องติดแน่นไม่หลุดลอกออกมาสู่อาหาร
  • เพิ่มเงื่อนไข เมื่อบรรจุอาหารต้องไม่มีสารแพร่กระจายจนทำให้อาหารเสื่อมสภาพทางประสาทสัมผัส
  • ไม่มีจุลินทรีย์ที่ทำให้เกิดโรค 4 ชนิด คือ Staphylococcus aureus , Clostridium perfringens, Bacillus cereus และ Salmonella spp. (ชนิดของจุลินทรีย์ระบุอยู่ในประกาศชี้แจง)

 

  1. เพิ่มข้อกำหนดสำหรับภาชนะบรรจุที่ทำจากพลาสติกที่มีชั้นขวางกั้นเชิงหน้าที่ (functional barrier) เป็นองค์ประกอบ หากพิสูจน์ได้ว่าสามารถป้องกันการแพร่กระจายของสารต่างๆจากชั้นด้านหน้าไปสู่อาหารได้ ให้ชั้นด้านหน้าได้รับการยกเว้นคุณภาพตามบัญชีหมายเลข 1 ได้ และการประเมินความปลอดภัยบางรายการ
  2. คงเดิมชนิดของพลาสติกที่อนุญาตตามประกาศฯ 295 คือ
    1. ภาชนะบรรจุที่ทำจากพลาสติก ที่ใช้บรรจุอาหารทั่วไป ได้แก่

1. พอลิไวนิลคลอไรด์ (polyvinyl chloride; PVC)

2. พอลิเอทิลีน (polyethylene; PE )

3. พอลิพรอพิลีน (polypropylene; PP)

4. พอลิสไตรีน (polystyrene; PS)

5. พอลิไวนิลิดีนคลอไรด์ (polyvinylidene chloride); PVDC)

6. พอลิเอทิลีนเทเรฟทาเลต (polyethylene teraphthalate; PET)

7. พอลิคาร์บอเนต (polycarbonate; PC)

8. พอลิแอไมด์ (polyamide; PA) หรือ ไนลอน

9. พอลิไวนิลแอลกอฮอล์ (polyvinyl Alcohol; PVOH)

10. พอลิเมทิลเมทาคริเลต (polymethyl methacrylate; PMMA)

11. พอลิเมทิลเพนทีน (polymethypentene; PMP)

12. เมลามีน-ฟอร์แมลดีไฮด์พอลิเมอร์ (Melamine)

    1. ภาชนะบรรจุที่ทำจากพลาสติก ที่ใช้บรรจุนมหรือผลิตภัณฑ์นม ได้แก่

1. พอลิเอทิลีน (polyethylene; PE )

2. เอทิลีน1-แอลคีน โคพอลิเมอร์ไรซด์เรซิน (ethylene 1-alkene copolymerized resin)

3. พอลิพรอพิลีน (polypropylene; PP)

4. พอลิสไตรีน (polystyrene; PS)

5. พอลิเอทิลีนเทเรฟทาเลต (polyethylene teraphthalate; PET)

(ผลิตภัณฑ์นม ได้แก่ นมเปรี้ยว นมดัดแปลงสำหรับทำรก นมปรุงแต่งและครีม แต่ไม่รวมผลิตภัณฑ์นมหผงหรือแห้ง)

  1. ยกเลิกคุณภาพและมาตรฐานของเนื้อพลาสติก (ซึ่งก็คือบัญชีหมายเลข 1 ของประกาศฯ 295)

ปรับปรุง คุณภาพหรือมาตรฐานการแพร่กระจาย โดยกำหนดรายการตรวจวิเคราะห์แยกตามหัวข้อ

    1. ข้อกำหนดสำหรับพลาสติกทุกชนิด
    • คุณภาพหรือมาตรฐานการแพร่กระจายทั้งหมด (overall migration limits; OML) ไม่เกิน 10 mg/dm2
    • คุณภาพหรือมาตรฐานการแพร่กระจายโลหะหนัก 19 ชนิด
    • คุณภาพหรือมาตรฐานการแพร่กระจายสาร Primary aromatic amines,PPAs
      • กลุ่มที่ 1 ภาชนะบรรจุที่ทำจากพลาสติกที่มีสีหรือใช้หมึกพิมพ์ กำหนดการตรวจสาร PAAs กลุ่ม Azocolourants 22 ชนิด
      • กลุ่มที่ 2 ภาชนะบรรจุที่ทำจากพลาสติก กรณีมีสารตั้งต้นในการผลิตเป็นสารกลุ่ม PAAs
    1. ข้อกำหนดสำหรับพลาสติก 7 ชนิด [PVC, PVDC, PC, PA, PMMA, melamine และ PET
    • คุณภาพหรือมาตรฐานการแพร่กระจายสารจำเพาะ (specific migration limits; SML)
  1. ยกเลิกการห้ามใช้ภาชนะบรรจุที่ทำจากพลาสติกแปรใช้ใหม่ และเพิ่มเงื่อนไขการใช้พลาสติกแปรใช้ใหม่

- แบบทุติยภูมิ อนุญาตเฉพาะพลาสติกชนิด PET ประเมินประสิทธิภาพของประบวนการรีไซเคิลตามหลักเกณฑ์ที่ อย. กำหนด หรือผ่านการรับรองตามมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม

- แบบปฐมภูมิและตติยภูมิ อนุญาตทุกชนิดที่กำหนดในประกาศฯ โดยไม่ต้องมีรายงานการประเมินประสิทธิภาพการรีไซเคิล

  1. การผ่อนผัน

ภาชนะบรรจุที่มีการใช้ก่อนประกาศบังคับ ให้ใช้ต่อไปได้ไม่เกิน 3 ปี (18 มิย. 2568) โดยผ่อนผันให้คุณภาพหรือมาตรฐานเป็นไปตามบัญชีหมายเลข 2 (ประกาศฯ 295 เดิม)

ภาชนะบรรจุที่ทำจากพลาสติกบริสุทธิ์และพลาสติกแปรใช้ใหม่ หลังประกาศฉบับนี้ออก ให้มีคุณภาพหรือมาตรฐานตามบัญชีหมายเลข 2 (ประกาศฯ 295 เดิม) ไม่เกิน 3 ปี (เนื่องจากปัจจุบันห้องปฏิบัติการยังไม่สามารถพัฒนาการตรวจวิเคราะห์ปริมาณการแพร่กระจายสารจำเพาะ ได้ครบทุกรายการ)

 

นอกจากสาระสำคัญเหล่านี้แล้วยังมีประเด็นอื่นๆ ที่น่าสนใจ เช่น

  • รายละเอียดของกระบวนการรีไซเคิลแต่ละแบบ
  • รูปแบบและส่วนประกอบของภาชนะบรรจุแต่ละชนิด
  • เงื่อนไขการใช้พลาสติกแปรใช้ใหม่ที่ยังไม่กำหนดในประกาศฯ  
  • ข้อกำหนดของวิธีการตรวจวิเคราะห์สารแพร่กระจายและโลหะหนัก ตัวแทนอาหารจำลอง สภาวะการทดสอบเป็นต้น

 

ซึ่งแอดมินจะสรุปมาให้เพื่อนๆ ได้อ่านกันในตอนถัดๆ ไปนะคะ …..